ยุทธศาสตร์

 

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเทศบาลตำบลปาดัง

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค

1) ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบกและทางน้ำ และการวิศวกรรมจราจร

2) จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะ สนับสนุนการขยายเขตระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้คลอบคลุมทุกพื้นที่

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการด้านการศึกษา และการกีฬาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคง

1) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา การกีฬาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2) จัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลปาดัง

3) จัดให้มีการสงเคราะห์เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ แลผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยเอดส์การ

4) พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความมั่นคงทางครอบครัว

5) ส่งเสริมกิจกรรมด้านสาธารณสุข และการบริการสุขภาพ

6) การส่งเสริมและสนับสนุนกิจด้านกีฬา การออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ

7) ส่งเสริมและสนับสนุนการก่อสร้างลานสุขภาพและปรับปรุงสนามกีฬา

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สังคมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สังคมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีภูมิคุ้มกันในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด

2) ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1) สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2) ปรับปรุง ฟื้นฟู บูรณาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริม สนับสนุนอาชีพ พัฒนาผลผลิต และส่งเสริมการท่องเที่ยว

1) พัฒนาส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

2) ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพด้านการเกษตรและ ปศุสัตว์

3) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

1) ส่งเสริม และสนับสนุน บำรุงรักษาศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

2) เสริมสร้างจิตสำนึกด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เยาวชนและประชาชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการ

1) ส่งเสริมระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจากภาคประชาชนโดยการเพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

3) การวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมทุกระดับ

4) การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการและการบริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

5) การปรับปรุง พัฒนาสถานที่ อุปกรณ์ ที่จำเป็นและทันสมัยในสำนักงานรองรับการให้บริการประชาชน

 

เอกสารแนบ :