ตราสัญลักษณ์
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลปาดัง
     ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต และสภาพทั่วไป
      ตำบลปาดังเบซาร์ แต่เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ระหว่างตรงชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย(มามีคนไทยและคนจีนอาศัยอยู่ ปาดัง แปลว่า พื้นที่ราบ เบซาร์ แปลว่า กว้างใหญ่ หมู่บ้านปาดังเบซาร์ เดิมสังกัดตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ต่อมามีการแยกหมู่บ้านในตำบลทุ่งหมอออกมาส่วนหนึ่งแล้วให้หมู่บ้านส่วนที่แยกออกมาอีกตำบลหนึ่งตั้งชื่อตำบลใหม่แห่งนี้ว่า ตำบลปาดังเบซาร์ แยกจากตำบลทุ่งหมอ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2527 ตำบลปาดังเบซาร์เป็นตำบลติดต่อกับชายแดนประเทศมาเลเซีย อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสะเดา องค์การบริหารส่วนตำบลปาดังเบซาร์ จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19มกราคม พ.ศ. 2539 ได้ยกฐานะพร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นเทศบาลตำบลปาดัง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555
     ที่ตั้งและอาณาเขต
     ที่ทำการเทศบาลตำบลปาดัง ห่างจากอำเภอสะเดา เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร ห่างจากศาลกลางจังหวัดสงขลา ประมาณ 54 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 900 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 159.44 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 121,250 ไร่
มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยปกครองท้องถิ่นอื่นๆ ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลทุ่งหมอ
ทิศใต้ ติดกับ รัฐเปอร์ลิส
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลปริก
ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดสตูล
     ลักษณะภูมิประเทศ
     ลักษณะภูมิประเทศของตำบลปาดัง โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มและที่เชิงเขา ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตร
     เขตการปกครอง
      ตำบลปาดังเบซาร์มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 11 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านต้นพะยอม
- หมู่ที่ 2 บ้านร๊อค
- หมู่ที่ 3 บ้านท่าข่อย
- หมูที่ 4 บ้านชายควน
- หมู่ที่ 5 บ้านนา
- หมู่ที่ 6 บ้านเขารูปช้าง
- หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งไม้ด้วน
- หมู่ที่ 8 บ้านตะโล๊ะ
- หมู่ที่ 9 บ้านควนขัน (อยู่ในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์บางส่วน)
- หมู่ที่ 10 บ้านไร่
- หมู่ที่ 11 บ้านบาโรย
     ลักษณะภูมิอากาศ
      ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านเป็นประจำทุกปี คือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงหลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม
     ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม
      การคมนาคม
- ถนนระหว่างหมู่บ้าน มีทั้งถนนลาดยาง ถนนลูกรัง และถนนหินคลุก
- ถนนภายในหมู่บ้าน มีทั้งถนนคอนกรีต ถนนลูกรัง
- การโทรคมนาคมและการการสื่อสาร มีโทรศัพท์สาธารณะบางส่วน และมีบริการ WiFi ในทุกพื้นที่
ไฟฟ้า
ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปาดัง จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 90
       ปาดังเบซาร์ คือ เมืองเล็กๆ ชายแดนใต้ ที่อยู่ติดกับรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียตำบลปาดังเบซาร์ เป็นบริเวณพื้นที่ทับซ้อนไม่ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ของประเทศไทยหรือมาเลเซีย ปาดัง แปลว่า พื้นที่ราบ เบซาร์ แปลว่า กว้างใหญ่ หมู่บ้านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย เดิมสังกัดตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาต่อมามีการแยกหมู่บ้านในตำบลทุ่งหมอออกมาส่วนหนึ่งแล้วให้หมู่บ้านส่วนที่แยกออกมาอีกตำบลหนึ่งตั้งชื่อตำบลใหม่แห่งนี้ว่า ตำบลปาดังเบซาร์ แยกจากตำบลทุ่งหมอ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2557 เพราะตำบลทุ่งหมอมีพื้นที่กว้าง ยากแก่การปกครอง และตำบลปาดังเบซาร์เป็นตำบลติดต่อกับชายแดนประเทศมาเลเซีย อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสะเดา

      ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลท่าข้าม เป็นเทศบาลเมืองท่าข้าม โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 119 ก ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ส่งผลให้การเลือกตั้งของเทศบาลต่อไป จะต้องเป็นการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเทศบาล 2496 ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11 พ . ศ . 2543)
วิสัยทัศน์

“ ร่วมพัฒนา ร่วมสร้างสุข ถิ่นพหุวัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
ยึดมั่นธรรมาภิบาล เพื่อให้เทศบาลตำบลปาดัง เป็นเทศบาลน่าอยู่ อย่างยั่งยืน ”

พันธกิจ

1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและเพียงพอ
2. ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาคนให้มีคุณภาพ และสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
3. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและระบบบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นระบบ
4. สนับสนุน และส่งเสริมการจัดระเบียบสังคมในชุมชนให้มีความมั่นคงและคุ้มครองความปลอดภัยทางสังคม และการสร้างภูมิคุ้มกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. ส่งเสริมอาชีพ พัฒนารายได้ สนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเป็นประตูสู่อาเซียน
6. อนุรักษ์ สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลปาดังให้เกิดประสิทธิภาพ

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

1. ระบบคมนาคมขนส่งและระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ
2. ประชาชนมีการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
3. อนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู การจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี
4. ประชาชนมีความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้ที่พอเพียง
6. อนุรักษ์ สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม และพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
7. การบริหารจัดการเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล